เมนู

มหาวิยูหสูตรที่ 13


ว่าด้วยการยึดถือทิฏฐิของตน


พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[420] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถือ-
มั่นอยู่ในทิฏฐิ ย่อมโต้เถียงวิวาทกันว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง บุคคลทั้งหมดนั้น ย่อมนำความ
นินทามาเนืองๆ หรือย่อมได้ความสรรเสริญ
ในที่นั้นบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
บุคคลเหล่านั้นบางคราวได้ความ
สรรเสริญบ้าง ผลคือความสรรเสริญนั้น
น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ เราย่อมกล่าว
ผลแห่งความวิวาทกัน 2 ประการ คือ ความ
นินทาและความสรรเสริญนี้น้อยนัก ไม่พอ
แก่ความสงบ บัณฑิตเห็นโทษในผลแห่งการ
วิวาทแม้นี้แล้ว เห็นพระนิพพานมิใช่ภูมิแห่ง
การวิวาท ว่าเป็นธรรมเกษม ไม่พึงวิวาทกัน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ทิฏฐิหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้รู้แจ้งย่อมไม่เข้าไปใกล้ทิฏฐิทั้งปวง

นั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้น เป็นผู้ไม่เข้าไปใกล้
จะพึงถึงธรรมที่ควรเข้าไปใกล้อะไร จึงจะ
ไม่ทำความชอบใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียง
ที่ได้ฟัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ชนบางพวกผู้มีศีลอันอุดม สำคัญ
อยู่ว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรมอุดม จึงกล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยการสำรวม ชนเหล่านั้น
สมาทานวัตรแล้วตั้งมั่นอยู่ ด้วยคิดว่า เรา
ทั้งหลายควรศึกษาความบริสุทธิ์ของศาสดา
นั้นในทิฏฐินี้เท่านั้น ชนเหล่านั้นอันภพนำ
เข้าไปแล้ว กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด.
ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและ
พรตแล้วไซร้ บุคคลนั้นยังกรรมให้ผิดไป
แล้วก็หวั่นไหว ยังคร่ำครวญและปรารถนา
ความบริสุทธิ์อยู่ เหมือนบุคคลอยู่ปราศจาก
เรือน เสื่อมแล้วจากพวก พึงปรารถนาเรือน
หรือพวก ฉะนั้น.
อนึ่ง อริยสาวก ละศีล พรต ธรรม
ที่มีโทษและไม่มีโทษทั้งสิ้นนี้ แล้วไม่

ปรารถนาว่า ธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาติ
นี้ไม่บริสุทธิ์ เว้นแล้วจากความบริสุทธิ์ ไม่
ถือมั่นทิฏฐิ แล้วพึงเที่ยวไป.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย อาศัยทิฏฐิ
นั้นหรือความเกลียดบาป แม้อนึ่ง อาศัยรูปที่
ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว หรืออารมณ์
ที่ได้ทราบแล้ว เป็นผู้ระลึกแล่นพ้นไปจาก
อกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อย
และภพใหญ่ ย่อมทอดถอนถึงความบริสุทธิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ก็ความดิ้นรนทั้งหลาย หรือแม้ความ
หวั่นไหว ย่อมมีแก่ผู้มีความปรารถนา มีอยู่
ในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว การจุติและการ
อุบัติในภพนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึง
หวั่นไหว จะพึงดิ้นรนในอารมณ์ไหน ๆ
เพราะเหตุอะไร.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรม
ใดว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง ส่วนสมณพราหมณ์
เหล่าอื่นกล่าวธรรมนั้นแหละว่า เป็นธรรม

เลวทราม วาทะของสมณะพราหมณ์ทั้งสอง
พวกนี้ วาทะอย่างไหนจริงหนอ เพราะ
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนี้แล เป็นผู้กล่าวอวด
อ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวธรรม
ของตนนั่นแหละ ว่าเป็นธรรมบริบูรณ์ แต่
กลับกล่าวธรรมของผู้อื่น ว่าเป็นธรรมเลว
ทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างยึดถือ
ทิฏฐิด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน
สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวทิฏฐิของตน ๆ
ว่า เป็นของจริง.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ถ้าว่าบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม เพราะ
การติเตียนของบุคคลอื่นไซร้ ใคร ๆ จะพึง
เป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะว่าสมณ-
พราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวธรรมของ
บุคคลอื่น โดยความเป็นธรรมเลวทราม ใน
ธรรมของตน กล่าวว่าเป็นธรรมมั่นคง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมสรร-
เสริญหนทางเครื่องดำเนินของตนอย่างใด

การบูชาธรรมของตนของสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ดียังเป็นไปอยู่อย่างนั้น หากว่า
วาทะทั้งปวงจะพึงเป็นของแท้ไซร้ ความ
บริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ผู้มีถ้อยคำต่าง ๆ
กันเหล่านั้น ก็จะเป็นผลเฉพาะตน ๆ เท่านั้น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไปไม่มีแก่
พราหมณ์ การวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฏฐิ
ทั้งหลายว่าข้อนี้แหละจริง ดังนี้แล้ว ยึดถือ
ไว้ ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์จึงล่วงความวิวาทเสียได้ พราหมณ์
นั้นย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม
ประเสริฐเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
เดียรถีย์บางพวกกล่าวอยู่ว่า เรารู้
เราเห็น สิ่งที่เรารู้ เราเห็นนี้ เป็นอย่างนั้นแล
ดังนี้ จึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ ถ้าว่า
เดียรถีย์ได้เห็นแล้วไซร้ ประโยชน์อะไรเล่า
ด้วยความเห็นนั้นแก่ตน เพราะว่าเดียรถีย์
ทั้งหลาย ก้าวล่วงอริยมรรคเสียแล้วย่อม
กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป และ
ครั้นเห็นแล้ว จักรู้ทั่วถึงนามรูปเหล่านั้นที
เดียวโดยความเป็นของเที่ยง หรือโดยความ
เป็นสุข นรชนนั้น จะเห็นนามรูปมากหรือ
น้อยโดยความเป็นของเที่ยงและเป็นสุข ก็
จริง ถึงกระนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่
กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นนั้นเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ชนผู้ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดไว้ในเบื้อง
หน้า มีปกติกล่าวตามความมั่นใจ ไม่ใช่
เป็นผู้อันบุคคลอื่นพึงจะแนะนำได้ง่ายเลย ผู้
นั้นอาศัยครูคนใดแล้ว ก็เป็นผู้กล่าวความ
ดีงามในครูคนนั้น ผู้นั้นเป็นผู้กล่าวความ
บริสุทธิ์ ได้เห็นความถ่องแท้ในทิฏฐิของตน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
พราหมณ์รู้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเครื่อง
กำหนด ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่แล่นไปด้วย
ทิฏฐิ และไม่มีตัณหาทิฏฐิเครื่องผูกพันด้วย
ญาณ อนึ่ง พราหมณ์นั้น ได้รู้สมมติ คือ
ทิฏฐิทั้งหลายเป็นอันมากแล้ววางเฉย ชน
เหล่าอื่นย่อมยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

มุนีในโลกนี้ สละกิเลสเครื่องร้อยรัด
เสียแล้ว เมื่อผู้อื่นเกิดวิวาทกัน ก็ไม่แล่นไป
เข้าพวกเขา มุนีนั้นเป็นผู้สงบ เมื่อผู้อื่นไม่
สงบ ก็เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ท่านไม่มีการยึด
ถือ ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
มุนีละอาสวะเบื้องต้น (คือส่วนที่ล่วง
แล้ว) เสีย ไม่ทำอาสวะไหน (คือส่วนที่เป็น
ปัจจุบัน) ไม่เป็นผู้ลำเอียงเพราะความพอใจ
อนึ่ง มุนีนั้นจะเป็นผู้ยึดมั่นกล่าวก็หาไม่ มุนี
นั้นเป็นนักปราชญ์ หลุดพ้นแล้วจากทิฏฐิ
ทั้งหลาย ไม่ติเตียนตน ไม่ติดอยู่ในโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า
มุนีนั้น เป็นผู้ไม่มีมารและเสนามาร
ในธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่งที่ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว หรือได้ทราบ
แล้ว ปลงภาระลงแล้ว หลุดพ้นแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีเครื่องกำหนด ไม่เข้าไปยินดี
ความปรารถนา ฉะนี้แล.


อรรถกถามหาพยูหสูตร1ที่ 13


มหาพยูหสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า เย เกจิเม บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ดังนี้เป็นต้น.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
ในมหาสมัยนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อทำ
ให้แจ้งความนั้น แก่เหล่าเทวดาบางพวกผู้มิจิตเกิดขึ้นว่า บุคคลเหล่านี้ถือมั่น
ในทิฏฐิย่อมได้รับการนินทาอย่างเดียวหรือหนอ หรือได้รับแม้การสรรเสริญ
ด้วย จากสำนึกของวิญญูชนทั้งหลาย ทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระองค์
โดยนัยก่อนนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ได้แก่ นำมาเนือง ๆ คือนำมา
บ่อย ๆ. เพราะบุคคลผู้มีวาทะเป็นเจ้าทิฎฐิเหล่านั้นแม้กล่าวอยู่ว่าสิ่งนี้เท่านั้น
จริง บางคราวได้ความสรรเสริญบ้าง ผลแห่งวาทะอันได้แก่ความสรรเสริญนั้น
น้อยนักไม่สามารถเพื่อสงบราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวไปไยถึงผลแห่งการนินทา
ที่สอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนี้จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน
มีอาทิว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาท 2 ประการนี้น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งการวิวาท
2 ประการ ได้แก่ ความนินทาและความสรรเสริญ หรือได้แก่ ความชนะ
และความแพ้เป็นต้นอันเป็นส่วนพวกเดียวกันกับความสรรเสริญและความนินทา
นั้น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา เห็นโทษแห่งการวิวาทกัน คือเห็นโทษในผล
1. บาลีว่า มหาวิยูหสูตร.